วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

ความรู้เกี่ยวกับเบื้องต้นเกี่ยวกับหูและการได้ยิน




ความรู้เกี่ยวกับเบื้องต้นเกี่ยวกับหูและการได้ยิน


หูและการได้ยิน

     หูของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นในซึ่งแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน หน้าที่ที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
     -  ทำหน้าที่รับเสียง
     -  ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว



การสูญเสียการได้ยิน
อาการที่แสดงว่าผู้ป่วยน่าจะมีปัญหาทางการได้ยิน
ผู้ใหญ่ ปวดหนักในหู  ในรูมีน้ำ  ฟังคำไม่รู้
ในหูมีเสียง  เอี้ยวเอียงเวียนหัว
เด็ก     -  พูดช้า พูดไม่ชัด
                    -  พัฒนาการทางภาษาและการพูดไม่สมวัย



ประเภทของความสูญเสียการได้ยิน
แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
     1.) การนำเสียงบกพร่อง เป็นผลจากโรคที่มีความผิดปกติ ของหูชั้นนอก และหูชั้นกลาง ทำให้มีความผิดปกติในการส่งผ่านคลื่นเสียง ไปสู่หูชั้นในสามารถแก้ไขด้วยทางยา หรือการผ่าตัด


     2.) ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง ความผิดปกติอยู่ที่หูชั้นใน หรือประสาทรับฟังเสียง จะได้ยินเสียงแต่ฟังไม่รู้เรื่อง เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้

     3.) การรับฟังเสียงบกพร่องอย่างผสม เกิดจากความผิดปกติ ในระบบการนำเสียงร่วมกับประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง พบในโรคที่มีความพิการที่หูชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นในรวมกัน การรักษาโดยการผ่าตัดอาจจะช่วยได้บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด


ระดับการสูญเสียการได้ยิน
     ในทางการแพทย์จะแบ่งระดับการได้ยินออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้

ระดับการได้ยิน
ความสามารถในการฟังคำพูด
ปกติ
ไม่ลำบากในการฟังเสียงพูด
หูตึงเล็กน้อย
ไม่ได้ยินเสียงพูดเบาๆ
หูตึงปานกลาง
พอที่จะเข้าใจคำพูดในระดับความดัง
ปกติในระยะ 3-5 ฟุต
หูตึงมาก
ต้องพูดเสียงดังจึงจะเข้าใจและมีความลำบากในการฟังเสียงดังในที่จอแจ
หูตึงรุนแรง
อาจได้ยินเสียงตะโกนในระยะ 1 ฟุต
แต่ไม่เข้าใจ
หูหนวก
เสียงดังมากๆก็ไม่ได้ยิน



หน้าที่ของนักแก้ไขการได้ยิน
     นักแก้ไขการได้ยินจะทำการตรวจวัดระดับการได้ยิน และชนิดของการสูญเสียการได้ยินเพื่อช่วยในวินิจฉัยความผิดปกติของอวัยวะในการได้ยิน เนื่องจากการสูญเสียการได้ยินจะส่งผลกระทบต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ใหญ่ และพัฒนาการทางภาษาและการพูดของเด็ก นอกจากนั้นการตรวจการได้ยินยังสามารถบ่งชี้ถึงพยาธิสภาพในหูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นใน และประสาทส่วนกลางได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น