วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แนะนำเวปไซต์การตรวจการได้ยินเบื้องต้น

วันนี้จะมาแนะนำเวปไซต์ภาษาอังกฤษสำหรับตรวจและประเมินการได้ยินเบื้องต้นค่ะ
ในเวปเค้าบอกว่าให้ใช้คอมพิวเตอร์กับหูฟังแบบเฮดโฟน
หรือใครจะลองเปิดในโทรศัพท์ก็ได้ค่ะ ผลเป็นยังไงบอกด้วยนะ

ใครอยากทดสอบสามารถดูขั้นตอนต่างๆ และวิธีการตามรูปได้เลยค่ะ

การทดสอบนี้จะใช้เวลาประมาณ 5 นาที แนะนำว่าให้ใส่หูฟังเฮดโฟนในการตรวจนะคะ

พร้อมแล้ว คลิก >> Start Test


ก่อนอื่นเริ่มด้วยการตอบคำถามนะคะ

คำถาม : บางครั้งคุณมีความลำบากในการฟังเสียงโทรศัพท์ หรือ โทรทัศน์ ใช่หรือไม่

ถ้าใช่ กด Yes ไม่ใช่กด No ค่ะ

คำถาม : บางครั้งคุณรู้สึกเหมือนคนอื่นพูดพึมพำ หรือพูดไม่ชัดเจน ใช่หรือไม่

ถ้าใช่ กด Yes ไม่ใช่กด No ค่ะ

คำถาม : คุณมักจะบอกให้คนอื่นพูดให้ดังขึ้น หรือให้พูดซ้ำ ใช่หรือไม่ (เช่น ห๊ะ อะไรนะ เป็นต้น)

ถ้าใช่ กด Yes ไม่ใช่กด No ค่ะ

คำถาม : คุณมีความลำบากในการฟังเข้าใจเสียงพูดเบาๆ ใช่หรือไม่

ถ้าใช่ กด Yes ไม่ใช่กด No ค่ะ

คำถาม : คุณมีความลำบากในการสนทนาในร้านอาหารที่มีเสียงดัง หรือ ห้องที่มีคนอยู่มากๆ ใช่หรือไม่

ถ้าใช่ กด Yes ไม่ใช่กด No ค่ะ

ก่อนที่จะทดสอบการฟังเสียง ให้เปิดเสียงคอมพิวเตอร์ไว้ที่ 50% และเลือกว่าต้องการจะตรวจโดยการใส่หูฟัง หรือลำโพงคอมพิวเตอร์

ถ้าตรวจด้วยหูฟัง (Headphones) >> จะสามารถทดสอบแยกหูซ้าย-หูขวา

ถ้าใช้ลำโพงคอมพิวเตอร์ (Speakers) >> จะเป็นการทดสอบหู 2 ข้างพร้อมกัน


กดเริ่มเล่นเลย!!!

กดปรับระดับความดังที่เรารู้สึกฟังสบาย

กด Softer >> ถ้ต้องการให้เสียงเบาลง
กด Louder >> ถ้ต้องการให้เสียงดังขึ้น

เสร็จแล้วกด >> Continue


กดปรับระดับความดังของเสียงที่เบาที่สุด จนเกือบจะไม่ได้ยิน

กด Softer >> ถ้ต้องการให้เสียงเบาลง
กด Louder >> ถ้ต้องการให้เสียงดังขึ้น

เสร็จแล้วกด >> Continue

ต่อไปจะเป็นการทดสอบเพื่อวัดเสียงที่เบาที่สุดที่จะสามารถได้ยินในแต่ความถี่ของเสียง


ถ้าได้ยินกด >> Yes ได้เลยค่ะ

ปล.ถ้าไม่กดเสียงจะดังขึ้นเรื่อยๆนะ


ต่อไปเป็นการทดสอบการฟังเสียงพูด โดยการฟังและเลือกคำที่ตรงกับที่ได้ยิน อันนี้จะยากนิดนึงนะ ลองกดๆ เลือกดู สู้ๆค่ะ อิอิ


หน้าสุดท้ายคือสรุปผลการได้ยิน

Normal >> คือการได้ยินปกติ

ถ้าไม่อยู่ในช่วง Normal เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะมีปัญหาการได้ยิน ควรไปพบแพทย์หรือนักแก้ไขการได้ยินเพื่อตรวจประเมินเพิ่มเติมค่ะ


มีปัญหาการได้ยิน ต้องการปรึกษา หรือ สอบถามเรื่องเครื่องช่วยฟัง ได้ที่
www.facebook.com/clinicsatikahearing

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

เครื่องช่วยฟัง VS เครื่องขยายเสียง


     มีผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินหลายคนที่อาจจะเคยซื้อเครื่องช่วยฟังราคาถูก(เครื่องขยายเสียง)มาใช้เอง แล้วมาปรึกษา

     เนื่องจากเครื่องที่ใช้ไม่พอดีกับการได้ยิน ทำให้ได้ยินเบาเกินไป ดังเกินไป ฟังแล้วปวดหู ฟังแล้วไม่รู้เรื่อง เสียงรบกวนมาก ต้องการให้เราปรับและแก้ไขให้

     แต่ปัญหาก็คือ อุปกรณ์เหล่านี้มีการออกแบบง่ายๆ และราคาถูกจึงไม่สามารถปรับหรือแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้

     วันนี้จะขออธิบายข้อแตกต่างระหว่าง เคร่ื่องช่วยฟัง และ เครื่องขยายเสียง เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ที่สนใจได้ทราบค่ะ






























      ดังนั้นในการเลือกใช้เครื่องช่วยฟังจึงควรเลือกเครื่องช่วยฟังที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับการได้ยินของแต่ละคน โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โสต ศอ นาสิกแพทย์(แพทย์หู คอ จมูก) และนักแก้ไขการได้ยิน เพื่อตรวจประเมินการได้ยิน และเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมต่อไปค่ะ

ติดต่อสอบถามรายละเอียด ปรึกษาปัญหาการได้ยินได้ที่ >>> คลินิกสาธิกา การได้ยิน

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

ความรู้เกี่ยวกับเบื้องต้นเกี่ยวกับหูและการได้ยิน




ความรู้เกี่ยวกับเบื้องต้นเกี่ยวกับหูและการได้ยิน


หูและการได้ยิน

     หูของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นในซึ่งแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน หน้าที่ที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
     -  ทำหน้าที่รับเสียง
     -  ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว



การสูญเสียการได้ยิน
อาการที่แสดงว่าผู้ป่วยน่าจะมีปัญหาทางการได้ยิน
ผู้ใหญ่ ปวดหนักในหู  ในรูมีน้ำ  ฟังคำไม่รู้
ในหูมีเสียง  เอี้ยวเอียงเวียนหัว
เด็ก     -  พูดช้า พูดไม่ชัด
                    -  พัฒนาการทางภาษาและการพูดไม่สมวัย



ประเภทของความสูญเสียการได้ยิน
แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
     1.) การนำเสียงบกพร่อง เป็นผลจากโรคที่มีความผิดปกติ ของหูชั้นนอก และหูชั้นกลาง ทำให้มีความผิดปกติในการส่งผ่านคลื่นเสียง ไปสู่หูชั้นในสามารถแก้ไขด้วยทางยา หรือการผ่าตัด


     2.) ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง ความผิดปกติอยู่ที่หูชั้นใน หรือประสาทรับฟังเสียง จะได้ยินเสียงแต่ฟังไม่รู้เรื่อง เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้

     3.) การรับฟังเสียงบกพร่องอย่างผสม เกิดจากความผิดปกติ ในระบบการนำเสียงร่วมกับประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง พบในโรคที่มีความพิการที่หูชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นในรวมกัน การรักษาโดยการผ่าตัดอาจจะช่วยได้บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด


ระดับการสูญเสียการได้ยิน
     ในทางการแพทย์จะแบ่งระดับการได้ยินออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้

ระดับการได้ยิน
ความสามารถในการฟังคำพูด
ปกติ
ไม่ลำบากในการฟังเสียงพูด
หูตึงเล็กน้อย
ไม่ได้ยินเสียงพูดเบาๆ
หูตึงปานกลาง
พอที่จะเข้าใจคำพูดในระดับความดัง
ปกติในระยะ 3-5 ฟุต
หูตึงมาก
ต้องพูดเสียงดังจึงจะเข้าใจและมีความลำบากในการฟังเสียงดังในที่จอแจ
หูตึงรุนแรง
อาจได้ยินเสียงตะโกนในระยะ 1 ฟุต
แต่ไม่เข้าใจ
หูหนวก
เสียงดังมากๆก็ไม่ได้ยิน



หน้าที่ของนักแก้ไขการได้ยิน
     นักแก้ไขการได้ยินจะทำการตรวจวัดระดับการได้ยิน และชนิดของการสูญเสียการได้ยินเพื่อช่วยในวินิจฉัยความผิดปกติของอวัยวะในการได้ยิน เนื่องจากการสูญเสียการได้ยินจะส่งผลกระทบต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ใหญ่ และพัฒนาการทางภาษาและการพูดของเด็ก นอกจากนั้นการตรวจการได้ยินยังสามารถบ่งชี้ถึงพยาธิสภาพในหูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นใน และประสาทส่วนกลางได้